No. Styles / Fonts
12
Opentype Options
Huai and Huai Thai marks the first professional typeface release by Potch Auacherdkul and represents the culmination of research into the duality of influences between handwritten, vernacular Thai lettering and Latin typefaces. The result is a warm, expressive typeface that doesn’t abandon the human hands and the language that produced them.
With Thai script, there are two different terminal styles—the Loop terminal style, associated with the original forms of Thai glyphs; and the Loopless, which has evolved to best coordinate with Latin sans serif typefaces. In recent years, this Thai Loopless style has continued to influence and even change to become ‘more Latin.’ One would go so far as to define these heavily Latin-influenced typefaces as Thai Latinized. This curiosity with shifting influences, turns the idea around and explores what would happen if the vernacular Thai scripts actually influenced their Latin counterparts instead.
An Inversion of Thai Latinized is the result. The street signs of Bangkok, local vernacular writing, quick, fluid strokes… these influences form the DNA behind the Huai Thai typeface. Refining and systematizing those natural, handwritten strokes into a Thai typeface and then using those solutions to serve as the pioneer proportions behind the development of its Latin script companion was the product. Huai adopted the essence of these Thai glyphs into the Latin and uniquely embraced the contemporary writing system (and soul) of the Thai people in its letterforms.
หวยและหวยไทย ฟอนต์ที่ออกแบบโดยพชร์ เอื้อเชิดกุล ผลงานการออกแบบที่แสดงให้เห็นถึงการค้นคว้าใน 2 พื้นที่ที่ส่งผลซึ่งกันและกัน ระหว่างลายมือแบบตัวไทยที่เขียนกันทั่วไปและตัวละติน ผลที่ได้คือแบบตัวอักษร ‘หวย’ ที่ให้ความรู้สึกเป็นกันเองแต่มีความโดดเด่นชัดเจน มีลักษณะที่ไม่ขัดกับวิธีการเขียนที่คุ้นเคยและภาษาไทยที่เป็นต้นทางของแบบ
สำหรับตัวอักษรไทย ลักษณะของหัวสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือแบบมีหัวและแบบไม่มีหัว แบบมีหัวนั้นมีที่มาจากลักษณะการเขียนดั้งเดิมของตัวอักษรไทย ส่วนแบบไม่มีหัวนั้นเป็นการพัฒนาขึ้นมาใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับแบบตัวละตินไม่มีเชิงฐาน (Latin sans serif typefaces) โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แบบตัวไทยไม่มีหัวนั้นได้รับอิทธิพลและค่อยๆ ปรับให้มีสไตล์สอดคล้องกับลักษณะของตัวละตินมากขึ้น มากจนถึงจุดที่เราสามารถนิยามแบบตัวไทยที่ได้รับอิทธิพลมานี้ว่า Thai Latinized ได้ ซึ่งความสงสัยต่ออิทธิพลที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ เป็นเหตุของไอเดียในการพลิกมุมมองว่าอะไรจะเกิดขึ้นถ้าหากลายมือตัวไทยนั้นเป็นฝ่ายไปมีอิทธิพลกับแบบตัวละตินแทน
ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ โลกด้านกลับของแบบตัวไทยที่ถูกทำให้เป็นละติน ไม่ว่าจะเป็นป้ายหน้าร้านต่างๆ หรือริมถนนในกรุงเทพฯ การเขียนทั่วไปในชีวิตประจำวันที่เขียนอย่างเร็วๆ เป็นเส้นลายมือที่ลื่นไหล ทัังหมดนี้ส่งอิทธิพลให้เกิดรูปทรงของแบบที่เป็น DNA ของฟอนต์หวยชุดนี้ พัฒนาแบบด้วยการเก็บรายละเอียดและปรับธรรมชาติที่เป็นอยู่ของลายมือให้มีระบบมากขึ้น และต่อยอดขึ้นมาเป็นสัดส่วนต้นแบบของการพัฒนาฟอนต์ละตินที่เข้าคู่กับชุดฟอนต์หวยไทย ฟอนต์หวยนี้ได้นำส่วนสำคัญของตัวอักษรภาษาไทยถ่ายทอดไปสู่ตัวละติน พร้อมกับนำวิธีการ (ตลอดจนจิตวิญญาณ) ของการเขียนในช่วงเวลาปัจจุบันของคนไทยให้เข้ามาอยู่ในรูปทรงของตัวอักษรด้วย
Afrikaans, Albanian, Asu, Basque, Bemba, Bena, Bosnian, Catalan, Chiga, Colognian, Cornish, Croatian, Czech, Danish, Embu, English, Esperanto, Estonian, Faroese, Filipino, Finnish, French, Friulian, Galician, Ganda, German, Gusii, Hungarian, Icelandic, Inari Sami, Indonesian, Irish, Italian, Jola-Fonyi, Kabuverdianu, Kalaallisut, Kalenjin, Kamba, Kikuyu, Kinyarwanda, Latvian, Lithuanian, Low German, Lower Sorbian, Luo, Luxembourgish, Luyia, Machame, Makhuwa-Meetto, Makonde, Malagasy, Malay, Maltese, Manx, Meru, Morisyen, North Ndebele, Northern Sami, Norwegian Bokmål, Norwegian Nynorsk, Nyankole, Oromo, Polish, Portuguese, Romansh, Rombo, Rundi, Rwa, Samburu, Sango, Sangu, Scottish Gaelic, Sena, Shambala, Shona, Slovak, Slovenian, Soga, Somali, Spanish, Swahili, Swedish, Swiss German, Taita, Teso, Thai, Turkmen, Upper Sorbian, Vunjo, Walser, Welsh, Wolof, Zulu